ไทย  | อังกฤษ | ญี่ปุ่น
 


  ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน โดยการส่องกล้อง
  Laparoscopic Sleeve Gastrectomy

 

โรคอ้วน …อันตราย  โรงพยาบาลลานนา รักษาได้  โดยการผ่าตัดกระเพาะอาหารผ่านกล้อง

            ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน อันตรายมาก.. เป็นจุดเริ่มต้นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลายโรค  ผู้ที่มีน้ำหนักเกินถือเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน  จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ  ต่อคุณภาพของชีวิต ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่สามารถลดได้ด้วยตนเอง  เป็นบ่อเกิดของโรคร้ายนานับประการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง 

ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน โดยการส่องกล้อง  (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy )

            โรงพยาบาลลานนา เพิ่มศักยภาพการรักษาโรคยาก   ด้วยการยกระดับการรักษาโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน  โดยการเปิดเป็น ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก โดยการส่องกล้อง  (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy ) ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์อายุรกรรม  ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดแบบส่องกล้อง นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ และทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกันดูแลผู้ป่วย  ให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสุขภาพที่ดีขึ้น  เมื่อน้ำหนักลด โรคร่วมต่างๆก็ลดตามไปด้วย..

เกณฑ์การผ่าตัดกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนักด้วยการส่องกล้อง

1. ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 37.5 kg/m2 ขึ้นไป
2. ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย(BMI)  ตั้งแต่ 32.5 kg/m2 ขึ้นไป  ร่วมกับมีโรคร่วมที่เกิดจากภาวะอ้วน
3. ผู้ที่มีค่า BMI 27.5-32.5 kg/m2 และมีโรคเบาหวาน ที่ควบคุมด้วยการใช้ยากิน หรือยาฉีดแล้ว ยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้


หากท่านเข้าเกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย BMI เกิน

สนใจการลดน้ำหนักด้วยการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ
รักษาโรคอ้วนโดยการส่องกล้อง

ทำแบบประเมินตนเอง และนัดหมายแพทย์ Click ที่นี่

 

การปฏิบัติตัวก่อน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักผ่านกล้อง 

            ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์ และนักกำหนดอาหาร อย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีคุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ให้น้ำหนักลดลงอย่างน้อย 10%  ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

รายละเอียดเพิ่มเติม :
การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน โดยการส่องกล่อง

คลิ๊กที่นี่เพื่อ
อ่านเพิ่มเติม

ทางเลือกใหม่ ของการรักษาโรคอ้วน ด้วยการผ่าตัดกระเพาะผ่านกล้อง

         ในปัจจุบัน การผ่าตัดกระเพาะอาหารให้เล็กลง เพื่อรักษาโรคอ้วนผ่านการส่องกล้องนั้น (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) มีความปลอดภัย ไม่น่ากลัว เป็นการรักษาแบบทางเลือก ได้ผลดีกว่าการ ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบเปิดหน้าท้อง (Opened surgery) ขนาดของแผลหลังการผ่าตัดผ่านกล้อง แผลผ่าตัดเล็กกว่ามีเพียงรูขนาดเล็กบนหน้าท้อง ผู้ป่วยจะปวดแผลน้อยกว่า มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิด จากแผลผ่าตัดแบบปกติ เช่นแผลแยก หรือ แผลติดเชื้อน้อยกว่า ผู้ป่วยพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยไม่กี่วันก็สามารถกลับบ้านได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ารปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดกระเพาะ

         ผู้ปวยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-5 วันหลังผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักผ่านกล้อง แพทย์จะนัดพบเพื่อติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ และกลับมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง  เพื่อประเมินผลการรักษา  และการลดลงของน้ำหนักเป็นระยะๆ  ผู้ป่วยจะต้องมีการปรับตัวในด้านการรับประทานอาหาร ให้เข้ากับกระเพาะใหม่ที่มีขนาดเล็กลงแล้ว จะรับประทานอาหารได้น้อยลง ควรหยุดเมื่อรู้สึกอิ่ม และการผ่าตัดกระเพาะอาหารออก อาจทำให้เกิด "ภาวะการขาดวิตามินและแร่ธาตุ" บางชนิด เช่น Vitamin B12, Calcium, Iron, Folate, Vitamin D 9  ซึ่งต้องเสริมโดยการรับประทานเพิ่ม

รายละเอียดเพิ่มเติม :
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก โดยการส่องกล่อง

คลิ๊กที่นี่เพื่อ
อ่านเพิ่มเติม

     ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ประสบปัญหาโรคอ้วน อยากรักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักผ่านกล้อง    สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์  โรงพยาบาลลานนา โทร.052 134777

  


ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567

 

 

 

        

   บทความเพื่อสุขภาพ
   คลิปรายการสุขภาพ
   นักลงทุนสัมพันธ์
   CSR ลานนาเพื่อสังคม
   แผนกบริการ
   คลินิกพิเศษ
   ร่วมงานกับเรา
   ข่าวสารลานนา
   สิทธิประโยชน์ส่วนลด
    
        
 ศูนย์ผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน
   ศูนย์สวนหลอดเลือดสมอง
   ศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดแผลเล็ก
  ศูนย์โรคปวดหลัง
   ศูนย์บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
   ศูนย์มะเร็งนรีเวช
   ศูนย์สูตินรีเวช
   ศูนย์เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
   ศูนย์กุมารเวชกรรม
   ศูนย์อายุรกรรม
   ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน
   ศูนย์ทันตกรรม
   ศูนย์โรคปวดท้อง
   ศูนย์ตรวจสุขภาพ
   ศูนย์ศัลยกรรมส่องกล้อง

                 

 
designed by Lanna Hospital